คลังบทความของบล็อก

18 ธันวาคม 2554

วิธีการคิด Margin

วิธีการคิด Margin

มีเงิน $100
ซื้อไป จำนวน 2000 หรือ $20
USD : 100
used margin : $20
Available Margin : $80
Total Profit : 0
Available Margin กับ Total Profit จะสัมพันธ์กัน
ถ้า Total Profit ติด - ,Available Margin ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ (ถ้าเหลือ 0 หุ้นขะขายอัตโนมัติ เพื่อนำเงินมาหมุนต่อ)
ถ้า Total Profit + ,Available Margin ก็จะเพิ่ม

เช่น
USD : 100
used margin : $20
Available Margin : $70
Total Profit : -10

เราซื้อมาทั้งหมดกี่ตัว มันก็จะนำมารวมกันทั้งหมด
ต้องคำนวณให้ดีว่า margin เราเหลือเท่าไร
ถ้า margin ไม่พอ มันจะขาย ที่เราซื้อมาอัตโนมัติ เราก็ขาดทุนทันที
แนะนำ ควรสำรองเงินไว้เยอะๆค่ะ
เผื่อมันตกเยอะๆ เราจะได้มีเงินสำรองไว้ รอมันกลับมาขึ้นได้
จะได้ไม่ขาดทุน
ถึงมันตกก็ไม่เป็นไร รอหน่อยเดี๋ยวมันก็ขึ้น
ของแบบนี้ มันมีขึ้น มีลง ขอให้รวยๆๆค่ะ

16 ธันวาคม 2554

กฏ 3 ใน 4 และตลาดหุ้นขาลง

กฏ 3 ใน 4 และตลาดหุ้นขาลง

มีคนกล่าวไว้ว่า ในตลาดหุ้นขาลงนั้น 3 ใน 4 ของหุ้นทั้งตลาดจะลงไปพร้อมกับดัชนีตลาดโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตลาดกลายเป็นขาลงครั้งใหญ่อย่างเต็มตัวนั้น การอยู่เฉยๆอาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุดก็ได้ ในบทความนี้ เราจะลองมาดูกันว่าคำกล่าวนี้จะเป็นจริงแค่ไหนกันครับ

เมื่อพูดถึงปรากฏการณ์ของตลาดหุุ้นในขาลงนั้น สำหรับตลาดหุ้นขาลงครั้งใหญ่ที่สุดที่พึ่งจะผ่านมากับตลาดหุ้นไทยนั้น (และตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในโลก) คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ช่วงวิกฤติ Subprime หรือ Hamburger Crisis ในปี 2008 คือช่วงเวลาที่ตลาดหุ้น SET ของเรา ได้กลายเป็นขาลงอย่างเต็มตัว และมันได้ทำให้นักเล่นหุ้นหลายต่อหลายคน ต้องเจ็บตัวไปตามๆกันด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ อย่างไรก็ตาม เหตุผลหนึ่งที่เป็นเหตุผลสำคัญก็คือ

คนส่วนใหญ่นั้นพยายามที่จะฝืนกระแสของตลาดขาลง หรืออย่างน้อยที่สุด พวกเขาเชื่อว่าหุ้นที่ดีจะไม่ลงไปตามตลาด


แน่นอนครับ! อาจมีหลายคนเถียงว่า สุดท้ายแล้วหากมันเป็นหุ้นที่ดีจริงๆ ราคาของมันจะกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง … สิ่งเหล่านั้นจะเป็นจริงในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหุ้นที่คุณถือด้วยว่า จริงๆแล้วมันดีอย่างที่คุณได้ตั้งสมมุติฐานเอาไว้จริงๆไหม หรือตลาดจะเป็นขาลงยาวนานเท่าไหร่ด้วย และถึงมันจะขึ้นหรือไม่ขึ้น ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะมีกำไรจากมัน เพราะระหว่างทางนั้น มีหลายอย่างที่จะเกิดขึ้น คุณอาจขายเพราะทนไม่ไหวหรือมีเหตุผลอื่นที่ดีกว่าก็เป็นได้ ดังนั้น น่าจะเป็นการดีที่เราจะย้อนมองถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะวางแผนรับมือกับมัน หรือทำใจล่วงหน้าสำหรับบางคนที่ยังต้องการจะทนถือให้ผ่านช่วงเวลาแย่ๆไป

มีหุ้นตัวไหนบ้างไหม ที่ยังสามารถวิ่งขึ้นได้เมื่อตลาดเข้าสู่ขาลง?

ผมได้ทำการทดลองย้อนกลับไปในปี 2008 เมื่อเกิด Hamburger Crisis ขึ้น เพื่อที่จะเก็บข้อมูลว่ามีหุ้นอยู่กี่ตัวในตลาด (568 ตัวตามฐานข้อมูลที่ผมมีอยู่) และเป็นตัวใดบ้างที่ยังสามารถจะทำกำไรออกมาได้ (มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เป็นบวก) ในช่วงเวลาที่ตลาดเป็นขาลงใหญ่ในขณะนั้น โดยนับช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ตลาด Peak ในวันที่ 22/5/2008 ถึงวันที่ตลาด Bottom ในวันที่ 29/10/2008 ออกมา และหุ้นที่ยังเหลือรอดสามารถทำกำไรให้คุณได้เมื่อตลาดขาลงได้จบลงนั้น มีทั้งหมด 13 ตัวดังนี้


Ticker End
Date/Time Begin Close End Close Rate of Change % Hi-Lo
Range Average Value ฿
(120 days)
SST 29/10/2008 4.22 6.8 61.14 221.25 4,171,055
DM 29/10/2008 10 13.5 35 155 55,921
CIMBT 29/10/2008 0.79 1 26.52 154.4 13,775,493
UKEM 29/10/2008 0.67 0.83 24.81 236.84 20,673,278
OISHI 29/10/2008 30.5 36.5 19.67 127.83 2,803,744
UBIS 29/10/2008 3.04 3.28 7.89 135.46 1,099,465
NC 29/10/2008 3.5 3.7 5.71 165.44 9,272
ICC 29/10/2008 40.5 42 3.7 107.69 1,446,007
JAS 29/10/2008 0.33 0.34 3.03 176.67 41,564,424
BOL 29/10/2008 1.38 1.4 1.45 146.43 69,913
ASIAN 29/10/2008 1.38 1.39 0.72 208.4 1,663,977
PB 29/10/2008 71 71.5 0.7 119.15 368,572
STHAI 29/10/2008 1.68 1.69 0.6 156.03 294,454



กฏ 3 ใน 4 ของตลาดขาลง
เราจะเห็นได้ว่าผลที่ออกมานั้น น่าตกใจกว่าคำกล่าวอ้างในตอนต้นที่ว่า 3 ใน 4 ของหุ้นทั้งตลาดจะลงเช่นกันเสียอีก! เพราะเมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนร้อยละแล้วเราจะพบว่า มันเป็นจำนวนเพียงแค่ 2.28% ของหุ้นในตลาดเท่านั้นเอง!! นอกจากนี้แล้วเรายังพบอีกว่า
หุ้นส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่ไร้สภาพคล่องที่มีมูลค่าการซื้อขายที่ค่อนข้างต่ำเอามากๆเสียด้วย
มีหุ้นอยู่เพียง 5 ตัวหรือเพียง 0.88% ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยง (10% ขึ้นไป)
ระยะของการเคลื่อนไหวหรือ Hi-Low Range นั้นค่อนข้างกว้างเมื่อเทียบกับอัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อสิ้นสุดการทดลอง นั่นจึงหมายความว่าคุณต้องเผชิญกับความผันผวนมากพอสมควร ในการที่จะอยู่ร่วมกับขาลงจนมันจบสิ้นไป
สิ่งเหล่านี้บอกอะไรกับเราอย่างนั้นหรือ?

หากคุณคิดว่าคุณเป็นอัจฉริยะแห่งตลาดหุ้น ที่สามารถจะเลือกเฟ้นเอาสุดยอดหุ้นแบบนี้ออกมาได้ในตลาดขาลงล่ะก็ ยินดีด้วยล่วงหน้า (ขอให้สำเร็จครับ) แต่ถ้าหากคุณคิดว่าคุณไม่ใช่ หรือคุณยอมที่จะเผื่อใจไว้ให้กับความเสี่ยงบ้างล่ะก็ คุณก็น่าจะพอรู้คำตอบได้แล้วว่าควรทำเช่นไรเมื่อขาลงใหญ่มาถึง เพราะมันเป็นเรื่องค่อนข้างยากมากๆเลยทีเดียว ที่คุณจะสามารถค้นพบหุ้นเหล่านี้และทำกำไรจากมันได้ได้เมื่อขาลงใหญ่เกิดขึ้นจริงๆ และหากว่าคุณคิดว่าหยุดลงทุนไม่ได้จริงๆนั้น อย่างน้อยที่สุด คุณก็ควรที่จะผ่อนน้ำหนักลงมาบ้างเพื่อความปลอดภัยกันบ้าง เพื่อรักษาเงินทุนหากเหตุการณ์ดำเนินไปจนสุดกู่จริงๆนั่นเอง

อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญในการทำกำไรก้อนใหญ่ก็คือ การมีหุ้นอยุ่เมื่อแนวโน้มใหญ่มาถึง ไม่ใช่การฝืนแนวโน้มหรือหลอกตัวเองเมื่ออยู่ในขาลงไปวันๆ หากว่า Buy and Hold – Forever ไม่ใช่กลยุทธ์หลักของคุณแล้ว นั่นมีแต่จะยิ่งทำให้คุณต้องเจ็บปวดโดยไม่จำเป็น

เมื่อขาลงใหญ่มาถึง อย่าลืม … กฏ 3 ใน 4 ครับ

แมงเม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management


Tags: วิธีการเล่นหุ้น

วิถีแห่งการเดิมพันของ Steve Jobs



บทเรียนจากวิถีแห่งการเดิมพันของ Steve Jobs นั้น เมื่อมองจากสายตาของผมแล้ว ไม่ได้ต่างอะไรกับหลักการเดิมพันและจิตวิทยาการลงทุนของ Trend Follower สักเท่าไหร่เลย และนี่คือคำพูดของเขาครับ

“ผมจะถามตัวเองทุกเช้าว่า ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายในชีวิตของผม ผมจะยังอยากทำให้สิ่งที่ผมกำลังจะทำในวันนี้หรือไม่ และถ้าคำตอบคือไม่ติดๆกันหลายวัน ผมก็รู้แล้วว่า ผมต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง …

การเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าเราไม่ได้อยู่จนค้ำฟ้า เป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่ผมรู้ ที่จะช่วยไม่ให้เราติดกับดักของความหวาดกลัวที่จะสูญเสียบางสิ่งที่เรามีไป”

Steve Jobs


นอกจากนี้แล้ว Jobs ยังบอกว่าเขาทำในสิ่งที่เขาเชื่อตามสัญชาติญาณของเขาไป ไม่ว่าจะเป็นการลาออกจามหาวิทยาลัยเพื่อที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา ที่ไม่สามารถจะช่วยให้เขารู้แม้กระทั่งว่าเขาอยากจะทำอะไรได้ เขาเดิมพันกับการตั้งบริษัท Apple, Innovate เครื่อง Macintoch, หรือแม้กระทั่งตั้้งบริษัท Next และ Pixar หลังจากที่เขาถูกไล่ออกจากบริษัท Apple ที่เขาก่อตั้งมันขึ้นมาเอง และสุดท้ายแล้ว ผลลัพท์ก็คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของเขานั่นเอง

คำถามก็คือ สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับหลักการเดิมพันของ Trend Following อย่างไร?

ในฐานะที่ผมเป็นคนที่ใช้หลักการของ Trend Following คนหนึ่งแล้ว เมื่อมองให้ลึกลงไป นี่ไม่ต่างอะไรกับหลักของการ Cut loss short, Let profits run, Average up และการ Take every trades (from your signal) เลย

Jobs จะเปลี่ยนแปลงเมื่อคำตอบคือ “ไม่” ติดๆกันหลายวัน! … เมื่อสิ่งต่างๆไม่ใช่อย่างที่คุณคิด คุณก็ไม่ควรที่จะทู่ซี้ยืนเจ็บปวดอยู่ตรงนั้นเช่นกัน นั่นคือความหมายของ Cut loss short

ในทางกลับกัน Jobs ขยายผลของนวัตกรรมที่เขาได้สร้างสรรค์ขึ้นมา เมื่อบริษัท Apple ที่เขาก่อตั้งกับเพื่อนเพียง 2 คนในโรงรถขณะอายุเพียง 20 ปีเริ่มประสบความสำเร็จ เขาได้แผ่ขยายอนาจักรของเขาออกไปจนกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าราว 2,000 ล้านดอลลาร์และมีพนักงานมากกว่า 4,000 คนเมื่อเขาอายุได้ราว 30 ปี ซึ่งจนในที่แล้ว ปัจจุบันนี้หุ้น Apple กลายเป็นบริษัทซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดในโลกไปแล้ว … และนี่คือความหมายของการ Let profit run และการ Average up ในสิ่งที่ “ใช่” นั่นเอง

สุดท้ายแล้ว Jobs เตือนตัวเองอยู่เสมอว่าเขาไม่ได้อยู่จนค้ำฟ้า เพื่อที่จะช่วยไม่ให้เขาติดกับดักของความหวาดกลัวที่จะสูญเสียบางสิ่งที่เรามีไป เขา Take action! กับสัญญาณที่เกิดขึ้น (จากสัญชาติญาณและความคิดของเขา) โดยได้ก้าวข้ามความกลัวที่จะผิดพลาดไป … นี่ไม่ต่างอะไรกับการที่คุณต้องกล้าเล่นตามระบบ และ Take every trades เลย

และก่อนจะจากกันในบทความนี้ เพื่อให้คุณได้เห็นถึงความคิดที่คล้ายคลึงระหว่าง Jobs และบรรดา Trend Follower นั้น ผมขอยกเอาคำพูดของ William Eckhardt สุดยอดนักเล่นหุ้นตามแนวโน้มคนหนึ่งให้คุณได้อ่านกันครับ

“หากว่าคุณขาดทุนแต่คุณยังมีระบบ Money Management ที่ดีอยู่แล้ว มันก็คงไม่ก่อปัญหาให้คุณมากเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม หากว่าคุณกลับพลาดโอกาสทำกำไรก้อนใหญ่ไปนั้น มันแทบที่จะไม่มีที่ให้คุณเดินไปทางไหนต่อเลยทีเดียว และถ้าคุณพลาดโอกาสทำกำไรก้อนใหญ่ไปเป็นประจำล่ะก็ คุณเสร็จตลาดแน่ๆ”

William Eckhardt